uasawin

uasawin

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

ข้อคิดของเซอร์เคน โรบินสันกับการปฏิรรูปการศึกษา
        เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาชาวอังกฤษได้ปาฐกถาในรายการ TED เกี่ยวกับการให้การศึกษากับเด็กและเยาวชนและได้รับการเผยแพร่ใน youtube มีผู้ชมรวมกันกว่า 7 ล้านครั้ง เรื่องสำคัญที่ท่านเซอร์พูดตอนหนึ่งชื่อว่า “How to escape education's death valley” หรือวิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา โดยเปรียบเทียบว่าการศึกษาปัจจุบันเป็นเหมือนกับพื้นที่รกร้างไม่มีต้นไม้ใดๆ สามารถเจริญงอกงามได้ในมณฑลที่เรียกว่า หุบเขามรณะ (death valley) อย่างไรก็ดี ในปีที่พิเศษที่มีอากาศเหมาะสม มีฝนตกเพียงพอ ต้นไม้ใบหญ้าก็กลับมาเจริญงอกงามได้ ท่านเซอร์จึงได้ให้แนวทางที่จะหลุดพ้นจากหุบเขามรณะของการศึกษาไว้ดังนี้
       ในบทปาฐกถาเรื่อง “วิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา” ท่านเซอร์ เคน โรบินสัน ได้พูดถึงการให้การศึกษา (education) กับเยาวชนซึ่งประกอบด้วย การสอน (teaching) และการเรียนรู้ (learning) ท่านเซอร์กล่าวว่า "การให้การศึกษาเท่ากับการทำให้เกิดการเรียนรู้" โดยหน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เพียงผู้ส่งสารที่ส่งความรู้จากหัวครูไปยังหัวสมองเด็กเท่านั้น เนื่องจากเด็กเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสัญชาตญาณในการเรียนรู้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นหน้าที่ของครูจึงต้อง เอื้อ (facilitate) ให้เกิดการเรียนรู้ กระตุ้น (provoke and stimulate) ให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้พวกเด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้ เรียกว่าจุดประกายไฟในความกระหายที่จะเรียนรู้ให้ลุกโชนให้ได้ เมื่อไฟนี้ลุกโชนแล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ได้เองและอย่างต่อเนื่องด้วย นอกจากนี้ครูยังต้องมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กมีจินตนาการ (imagination) มีความเป็นผู้นำ (leadership) มีความคิดสร้างสรรค์ (creativity) พร้อมที่จะสร้างนวัตกรรม (innovate) ใหม่ๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้นได้ ครูจึงต้องเป็นมากกว่าครู คือต้องเป็นทั้งโค้ชและพี่เลี้ยง (mentor) ไปด้วยในตัวเพื่อบ่มเพาะ (nurture) และสร้างเป้าหมายในชีวิตให้กับเด็กและเยาวชน
       จะเห็นว่าการให้การศึกษานั้น ครูมีบทบาทสำคัญมาก ท่านเซอร์บอกว่า (ผู้บริหาร) ต้องหาวิธีคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครูให้มาสอนหนังสือเด็ก อย่าคิดว่าการจ้างครูดีๆ เป็นค่าใช้จ่าย แต่ให้คิดว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต รัฐบาลต้องเข้ามาอุดหนุนให้เกิดการจ้างครูที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ (ผู้บริหาร) ต้องไม่ดึงครูไปทำงานอื่นๆ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นในห้องเรียน ครูจึงควรใช้เวลากับนักเรียนให้มากที่สุด และโรงเรียนไม่ใช่โรงงาน ไม่มีเด็กสองคนไหนที่เหมือนกันเป๊ะๆ แม้จะเป็นพี่น้องกันหรือฝาแฝดกัน ดังนั้น (ผู้บริหาร) ไม่ควรมองการศึกษาเหมือนการผลิตปลากระป๋องซึ่งสั่งได้ ควบคุมได้ แต่ควรให้หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและหลากหลายเพียงพอที่เด็กจะสามารถค้นพบตัวเองได้ เด็กเล็กควรได้เรียนศิลปะ ได้ออกกำลังกาย ได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ด้วย ข้อแนะนำสำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาคือควรหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนรู้มากกว่าที่จะวางแผนให้เด็กหรือครูก้าวเดินตามแผนที่วางไว้แบบก้าวต่อก้าว การสอบควรใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ไม่ใช่สรณะ ไม่ใช่เครื่องจำกัดโอกาสของเด็กครับ

ตรียมความพร้อมกับ 8 อาชีพ AEC 
9-7-2555 16-18-14
AEC หรือ Asean Economics Communityคือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน ก่อตั้งในปี 1967 (2510)โดยมี 5 ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งคือ ไทย /มาเลเซีย/อินโดนีเซีย/ฟิลิปปินส์/สิงคโปร์ 1984(2527): บรูไน เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเป็นประเทศที่ 6,1995(2538) เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิก 1997(2540) ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิก,1999(2542) กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกAEC2015เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง
AEC2015

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้นส่งผลกระทบกับประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศอันได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, พม่า สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีระหว่างกันในประชาคมอาเซียน (Mobility of professions in ASEAN community) โดยวิชาชีพที่มีการตกลงให้เคลื่อนย้ายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกได้นั้น มี  8 วิชาชีพดังนี้ 1. สาขาวิศวกรรม 2. สาขานักสำรวจ 3. สาขาสถาปัตยกรรม 4. สาขาแพทย์ 5. สาขาทันตแพทย์ 6. สาขาพยาบาล 7. สาขานักบัญชี 8. สาขาวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว

http://www.vcharkarn.com/varticle/56412
สู่สากลบนรากฐานความเป็นไทย ก้าวไกลด้วยรากเหง้า
1
              ก่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมา ศ. นพ. ประเวศ วะสี ได้กล่าวถึง การปฏิรูปการศึกษาไทย : หนทางสู่การปฏิบัติไว้ในงานประชุมประจำปีของมูลนิธิสด-สฤษดิ์วงศ์ เมื่อพ.ศ. 2539 เอาไว้ตอนหนึ่งว่า การศึกษาควรเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาของสังคม ดังนั้นแนวคิดในการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก การศึกษาท่องหนังสือมาเป็นการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ที่สามารถแก้ปัญหาทั้งมวล ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากเอกสารแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย : ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ร่วมกันจัดทำขึ้นในอีก 15 ปีต่อมาว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ที่คนในสังคมต้องลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของและเป็นผู้ขับเคลื่อนด้วยพลังทางสังคมและด้วยพลังปัญญาทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้พ้นจากภาวะวิกฤติที่สุด ไปสู่เส้นทางแห่งความเจริญที่แท้จริง
โฮมสคูลทางเลือกใหม่ในสังคมไทย
533_3
นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ.   2542   ประกาศใช้   การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นสิทธิโดยถูกต้องตามมาตรา   12   ที่ให้ครอบครัวจัดการศึกษา   ขั้นพื้นฐานได้   เป็นทางเลือกของครอบครัว   ที่ประสงค์จะจัดการศึกษาให้กับบุตรเอง   หากไม่ประสงค์จะส่งลูกเข้าโรงเรียน   โดยสภาพความเป็นจริงการจัดการโดยครอบครัว   ได้มีการดำเนินงานมาบ้างแล้วก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ
หลังจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   ประกาศใช้   การดำเนินงานในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศ   เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับประเทศไทย   พร้อมทั้งได้มีครอบครัวที่ตัดสินใจดำเนินการจัดการศึกษาให้ลูก   ตามสิทธิที่ครอบครัวได้รับโดยถูกต้องตามกฎหมาย   ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   มาตรา   12   สิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวนี้   จะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง   กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน   โดยครอบครัวอยู่ระหว่างดำเนินการ   โดยกระทรวงศึกษาธิการ
Home School หรือ การศึกษาโดยครอบครัว คือ การจัดการศึกษาที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองได้จัดขึ้นเพื่อลูก ๆ ของเขาเอง โดยมีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบ ของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างมีการเทียบโอนผลการศึกษาได้
โฮมสคูลการศึกษาระบบใหม่ เด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาพ่อแม่เพียงแค่มีประสบการณ์ชีวิตเป็นพอ พ่อแม่วางใจได้ โฮมสคูลไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย และมีเด็กที่เรียนในระบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพื่อให้รู้จักการจัดการศึกษาแบบ Home school และเข้าใจแนวการจัดการศึกษาแบบนี้


ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
       ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
    ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
    ศิลปะ
    คณิตศาสตร์
    การปกครองและหน้าที่พลเมือง
    เศรษฐศาสตร์
    วิทยาศาสตร์
    ภูมิศาสตร์
    ประวัติศาสตร์

       โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก
9 วิธีขับรถ ลดโลกร้อน
images (7)
คุณเคยทราบหรือไม่ว่า? การเดินทางในแต่ละครั้งต้อง ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการขับเคลื่อนจำนวนมหาศาลแต่ปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้กลับเริ่มลดลง เพราะต้องจัดหาให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความเป็นอยู่ของเราทุกวันนี้ ดังนั้นเพื่อช่วยโลกให้กลับมาสดใสอีกครั้ง เราสามารถ จัดการให้การเดินทางในแต่ละครั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
                1.  ใช้เชื้อเพลิงสะอาด เช่น ไบโอดีเซล
                2.  นัดเพื่อนร่วมงานที่อยู่ใกล้กัน นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกันเพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน ลดจำนวนรถบนท้องถนน ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และยังได้มีโอกาสสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอีกด้วย
                3.  การขับรถที่ยางลมมีน้อยอาจจะทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึงร้อยละ 3 จากภาวะปกติ ดังนั้นควรเช็คลมยางก่อนออกจากบ้าน
                4.  ควรขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อลดการใช้น้ำมันลงได้ถึงร้อยละ 20 หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ใช้งานราว 3 หมื่นกิโลเมตรต่อปี
                5.  ควรดับเครื่องยนต์เมื่อต้องจอดรถเป็นเวลานาน
                6.  เมื่อจะตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ควรดูจากจำนวนสมาชิกในครอบครัว และเลือกซื้อรุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
                7.  ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เพราะความเสื่อมสภาพจะลดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์
                8.  หากต้องการเช่ารถเพื่อท่องเที่ยวควรเลือกใช้บริการจากบริษัทที่มีรถรุ่นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์

                9.  ลองเปิดโอกาสให้กับตัวเองได้ทำอะไรใหม่ๆ เช่น ปั่นจักรยาน นั่งรถโดยสาร หรือเดินหากต้องเดินทางในระยะทางที่ใกล้เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน

'นายช่างใหญ่' และ 'บรมครู' ของชาวไทย
67_1_89667_ในหลวง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525 นิยามคำว่า ช่างหมายถึง ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะ หรือผู้ประกอบกิจการด้านบูรณะ ตกแต่ง และสร้างสรรค์ หนังสืออภิธานศัพท์โดยนายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley หรือ หมอบรัดเลย์) ที่ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงช่างเขียนว่า คนเป็นช่างนั้น คิดเขียนแปลกวิเศษต่างๆ เขาว่าช่างประดิษฐ์และอธิบายความหมายของช่างประดิษฐ์ว่า คนที่รู้ทำการวิเศษต่างๆ และรู้จักแต่งตั้งของวิเศษทั้งปวง
                    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประทานทรรศนะเกี่ยวกับช่างที่ดีไว้ว่า จะต้องประกอบด้วยองค์คุณสองประการ คือต้องประกอบด้วยฝีมืออย่างดีอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยความคิดดี รู้ที่ควรมิควรอย่างหนึ่ง ประการหลังนี่ล่ะสำคัญมาก ถ้ามีแต่ฝีมือดี ก็เป็นได้แค่ลูกมือเสมอไป ต้องมีความคิดดีด้วยจึงจะเลื่อนขั้นเป็นนายช่างได้...ที่ตรงฝีมือนั้นไม่ประหลาดอะไร เป็นของทำได้ง่ายๆ ที่ประหลาดนั้นอยู่ที่ความคิด คิดดีจริงๆนั้นแหละ แสดงว่า ...เป็นนายช่าง” (ดำรงราชานุภาพ,  2504)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงเป็น นายช่างใหญ่ก็ทรงมีพระราชดำรัสที่สอดคล้องกับทรรศนะดังกล่าว ในเรื่องกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะและงานช่างว่า ความเป็นศิลปิน หมายถึง ความสามารถตามธรรมชาติ ที่จะเห็นความงามและคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้ว ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือเทคนิค เช่น วิชาช่าง เป็นต้น จึงจะแสดงออกมาเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม หรือศิลปกรรม ในลักษณะอื่นๆ ได้” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507)
                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเยี่ยมในทางช่าง ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างโลหะ หรือช่างกล ซึ่งเป็นงานพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ทรงเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ ขณะที่ประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น ทรงมีห้องปฏิบัติการช่างหรือเวิร์กช็อปอยู่ในพระตำหนักวิลลาวัฒนา นครโลซานน์ ทรงมีพระสหายสนิทเชื้อสายกรีก และเป็นพระอาจารย์ทางด้านช่างฝีมือซึ่งทรงโปรดปรานทำงานร่วมกัน ความสนพระทัยในการประดิษฐ์คิดค้น แระพระปรีชาสามารถในเชิงช่างของพระองค์ มีมาตั้งแต่ทรงครั้งพระเยาว์ ทั้งนี้มาจากการอบรมเลี้ยงดูของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงสอนให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์รู้จัก การดำรงพระองค์อย่างประหยัดมัธยัสถ์ และรู้คุณค่าของทรัพยากร ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทหิดล พระบรมเชษฐาธิราช และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยในการแข่งประดิษฐ์เนื่องจากพระราชชนนีไม่ได้พระราชทานของเล่นให้มากมายเหมือนอย่างเด็กๆ สมัยนี้
                    เครื่องรับวิทยุที่ทั้งสองพระองค์ร่วมกันประกอบเมื่อครั้งยังทรงศึกษาในต่างประเทศ เป็นเรื่องราวที่สะท้อนถึงความสนพระราชหฤทัยในการนี้ ท่านอยากได้วิทยุมาฟัง ท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุง ซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาประกอบกันเป็นวิทยุ ซึ่งต้องฟังกันสองคนที่เข้าหุ้นกันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์ในรายการ พูดจาประสาช่างซึ่งตีพิมพ์ในวิศวกรรมสาร ในหลวงกับงานช่าง’ (ปีที่ 39 เล่มที่ 5 ปี พ.ศ. 2530)
                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี โดยทรงเข้าศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อช่วงต้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ต้องทรงเปลี่ยนแนวการการศึกษามาเป็นรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์รับพระราชภารกิจ ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย โดยเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิล
                    ตลอดเวลาที่ทรงครองราชย์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรทุกภาคอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทรงรับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ และไม่ทรงละเลยปล่อยผ่านไปโดยไม่แก้ไข แนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและประเทศมีมาอย่างต่อเนื่อง
นาฬิกาชีวิต

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมคนเราต้องนอนกลางคืน และตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในกลางวันหรือเคยลองสังเกตกันหรือไม่ว่า ไม่เพียงแค่คน สัตว์ต่าง ๆ ทั้งใหญ่และเล็ก ต่างก็ต้องนอนและตื่นกันทุกตัว
คำตอบของคำถามเหล่านี้ คือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้กับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) หรือ นาฬิกาชีวิตที่คอยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายตลอด 24 ชั่วโมง โดยเกิดจากการตอบสนองต่อแสงอาทิตย์ อุณหภูมิ และความมืด
เจ้าตัวนาฬิกาชีวภาพนี้อยู่ที่ suprachiasmatic nucleus (SCN) ของสมองส่วน ไฮโพธาลามัส ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมรอบๆตัวเรา เมื่อมีแสงสว่าง (กลางวัน) ตาจะรับแสง จากนั้นส่งข้อมูลไปยังสมอง ทำให้ร่างกายรับรู้ว่ามีแสงสว่าง ในทางตรงกันข้าม หากปริมาณแสงลดลง หรือในที่มืด SCN จะสั่งให้สมองสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายนอนหลับ เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่ถูกยับยั้งโดยแสง จึงจะถูกหลั่งในเวลากลางคืนเท่านั้น
ผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า แม้แสงความเข้มข้นต่ำเพียง 0.1 ลักซ์ (เทียบได้กับแสงในคืนพระจันทร์เต็มดวง) ก็ส่งผลให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินน้อยลงได้ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายมาก โดย ช่วยชะลอความแก่ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง และป้องกันการเกิดไมเกรนอีกด้วย ดังนั้นในขณะนอนหลับไม่ควรที่จะเปิดไฟทิ้งไว้ เพราะไฟจะไปยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน ทำให้นาฬิกาชีวิตผิดเพี้ยนไป จะเกิดอะไรขึ้นถ้านาฬิกาชีวิตเราผิดเพี้ยน!!! ยกตัวอย่างแรก คืออาการที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี หากเดินทางจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง คือ การเกิด jet lag ซึ่งเกิดจากภาวะที่นาฬิกาชีวิต ของร่างกายไม่สามารถปรับตัวรวดเร็วได้ตามเวลาที่แท้จริงของท้องถิ่นในขณะนั้น สาเหตุจากการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาซึ่งจะทำให้มีอาการ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กังวล หงุดหงิด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ และ ง่วงนอนเวลากลางวัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อร่างกายสามารถปรับตัวได้แล้ว
ดร. แอนดริว กล่าวว่า ร่างกายของกวางเรนเดียร์หยุดการใช้งานของนาฬิกาชีวิต เพื่อความอยู่รอดของมันในขั้วโลก ซึ่ง ในฤดูร้อนมีเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์ถึง 15 สัปดาห์ ในขณะที่ฤดูหนาวมีเพียง 8 สัปดาห์ ที่แสงจากดวงอาทิตย์จะไม่ปรากฏเลย นอกจากนี้ ยังไม่พบฮอร์โมนเมลาโทนินในเลือดของกวางเรนเดียร์ ซึ่งหมายความว่า กวางเรนเดียร์ไม่มีนาฬิกาชีวิต!
โดย ดร. แอนดริว กล่าวว่า นาฬิกาชีวิตเกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อม ที่มีความเกี่ยวข้องกับแสงและความมืด แต่ถ้าสภาวะแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก มันคงเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะปรับตัวไปตามสภาวะแวดล้อม มากกว่าจะใช้นาฬิกาชีวิต ซึ่งมีสัตว์อีกหลายชนิดที่มีลักษณะเดียวกันกับกวางเรนเดียร์ เช่น สัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกหรือใต้ดินลึก ๆ
จะเห็นว่าร่างกายของสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ที่สามารถปรับตัวไปตามสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้ แต่สิ่งที่ควรจะตระหนักคือ ร่างกายที่แข็งแรงย่อมพร้อมที่จะปรับตัวได้ง่ายกว่าร่างกายที่อ่อนแอ ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนควรจะตระหนักคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ร่างกายสามารถใช้งานนาฬิกาชีวิตได้อย่างสมดุลในวันนี้ เพื่อในอนาคต สภาวะแวดล้อมอาจจะเปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกรณีกวางเรนเดียร์ เรายังจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อสอบที่ดีๆ ใครก็เขียนได้

การเขียนแบบคู่กับอาชีพวิศวกรฉันใด การเขียนข้อสอบย่อมคู่กับอาชีพครูฉันนั้นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของวิศวกรก็คือการเขียนแบบหรือการออกแบบตึกรามบ้านช่องต่างๆ ในทำนองเดียวกันหน้าที่ที่สำคัญของอาชีพครูก็คือการเขียนข้อสอบ การเขียนแบบที่ดีต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำ ส่วนการเขียนข้อสอบที่ดีนั้นก็ต้องอาศัยหลักการและเทคนิคการเขียนที่ดีเช่นกัน เราไปดูหลักการเขียนข้อสอบที่ดีกันเถอะ!!!
หลักการเขียนข้อสอบหลายตัวเลือกหรือข้อสอบที่ทุกคนเรียกติดปากว่า ข้อสอบช้อยส์แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ การเขียนข้อคำถามและการเขียนตัวเลือก สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงหลักการเขียนข้อคำถาม ดังนี้
หลักการเขียนข้อคำถาม (stem)
1. เขียนคำถามให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้
2. คำถามอาจจะเป็นประโยคสมบูรณ์หรือไม่ก็ได้แต่ต้องเป็นประโยคที่มีใจความหรือความหมายในตัวประโยคเอง แต่ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์จะทำให้ผู้สอบเข้าใจคำถามง่ายกว่า
3. เขียนคำถามที่มีความเป็นปรนัย
4. เขียนคำถามให้ชัดเจนกระชับ ได้ใจความและเรื่องที่ถามนั้นควรเป็นเรื่องที่สำคัญเพียงเรื่องเดียว เช่น 
5. เขียนคำถามให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า หากต้องเขียนคำถามในรูปปฏิเสธ ควรเน้นหรือขีดเส้นใต้คำที่แสดงความปฏิเสธให้ชัดเจน
6. หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
7. ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยของผู้สอบ
8. สำหรับข้อคำถามที่ให้เลือกข้อที่ถูกต้องที่สุด (best –answer items) ควรใช้คำที่แสดงให้เห็นว่าต้องการคำตอบที่ถูกที่สุด
 9. เขียนคำถามที่เป็นอิสระจากกัน โดยระวังการเขียนข้อสอบที่เชื่อมโยงหรือชี้นำคำตอบของข้อคำถามอื่น ๆ ในแบบสอบ

คณิตศาสตร์บนลู่วิ่ง

สำหรับผู้อ่านสองกลุ่มใหญ่ที่ค่อนข้างแตกต่างกันสุดขั้ว ผู้สนใจด้านคณิตศาสตร์ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย กับผู้สนใจวิ่งจริงจังแต่มักตกเลข
(ตัวอย่าง)
จะวิ่งกันอย่างจริงจังให้มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงความเร็ว เหนื่อยปริ่มขอบที่แรงสุดแต่ไม่สะสม สถานที่ที่เหมาะสำหรับฝึกการวิ่งแบบนี้ก็คือลู่วิ่งมาตรฐาน แต่ก็ต้องรู้ระยะทางของแต่ละลู่เพื่อให้การฝึกซ้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(coming soon!)
เป็นที่รู้กันในวงกว้างว่าการวิ่งจัดเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลดีและสะดวกมากอันดับต้นๆ เมื่อวิ่งมากและบ่อยขึ้นเราก็เรียกว่า นักวิ่งการวิ่งจัดเป็นการออกกำลังกายที่บริหารหัวใจได้ดีมาก เพราะมีการออกแรงตลอดเวลาในระดับที่เข้มข้น ต่างจากการเล่นกีฬาหลายอย่างที่มีการเคลื่อนไหวเร็วบ้าง ช้าบ้าง สลับหยุดนิ่ง ซึ่งน่าจะเรียกว่าเน้นความสนุกสนานมากกว่า
การวิ่งแบบเหนื่อยปริ่มขอบหรือที่มีชื่อเล่นว่า tempo (เท็มโป้) คือการวิ่งที่ทำให้เราเหนื่อยมากที่สุดที่ยังไม่มีการสะสมความเหนื่อยจนเราอึดอัดและไปต่อไม่ได้ในที่สุด อธิบายเพิ่มอีกหน่อยก็คือมันเป็นรอยต่อระหว่างระบบแอโรบิคกับอะแนโรบิค มีชื่อทางการว่า lactate threshold จะเปรียบเทียบก็อาจนึกถึงขอนไม้ที่ลอยปริ่มน้ำ มันเกือบจะจมลงแต่ก็ไม่จม วิธีการสาธิตหาจุดปริ่มน้ำก็ทำได้โดยการหาวัตถุที่ลอยน้ำมาเติมเหรียญบาทเข้าไปเรื่อยๆจนมันจะเริ่มจม ถ้ามีเหรียญถ่วงเยอะเกินจนมันเริ่มจมก็เอาเหรียญออก สำหรับการวิ่งก็เช่นกัน เราต้องควานหาความเร็วที่เราเหนื่อยมากที่สุดแต่ยังไม่สะสมความเหนื่อยจนอึดอัดและไปต่อไม่ได้ การพัฒนาให้จุดเหนื่อยปริ่มขอบสูงขึ้นจึงเป็นหัวใจอันหนึ่งของการวิ่งระยะยาว เช่นเดียวกันสำหรับคนที่เริ่มวิ่ง ก็ควรจะพยายามใช้เวลาส่วนใหญ่กับการวิ่งไม่ให้เกินจุดนี้ เพื่อให้มีระยะเวลานานพอที่จะทำให้หัวใจและร่างกายได้ออกกำลัง ระยะเวลาและระยะทางก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคิดในการฝึกซ้อม ความเร็วแบบสบายและแบบเร็วก็เป็นอีกระบบที่เราต้องฝึกเมื่อต้องการให้การวิ่งได้ผลดีขึ้น การวัดความเร็วที่เรานิยมใช้กันเป็นระบบที่บอกว่าใช้เวลากี่นาทีต่อการวิ่งแต่ละกิโลเมตร (บางคนก็ใช้หน่วยอื่น เช่น นาที/ไมล์ วินาที/เมตร เป็นต้น) มีชื่อว่า pace (เพซ)
สถานที่วิ่งที่เหมาะสมคือลู่วิ่งพื้นยาง ซึ่งมีระยะทางที่แน่นอน มีความปลอดภัยและมีที่สำคัญมีเพื่อนวิ่ง โดยมาตรฐานแล้วลู่วิ่งมีระยะทางรอบละ 400 เมตร ส่วนใหญ่ก็มีกัน 8 ลู่โดยลู่นอกก็จะมีระยะต่อรอบที่ยาวกว่ากันไปตามลำดับ ในการวิ่งเท็มโป้เราก็จะควานหาความเร็วที่เหมาะกับตัวเอง เช่น ส่วนใหญ่ก็วิ่งลู่ 1 และใช้เวลา เช่น รอบละ 2 นาที ก็จะเท่ากับเพซ 5 นาทีต่อกิโลเมตร ทำให้คำนวณต่อไปได้ว่าวิ่งมินิมาราธอนระยะ 10 กิโลเมตรจะใช้เวลาประมาณ 50 นาทีหากคงความเร็วนี้ไว้ มีสูตรคำนวณเล่นๆว่าหากต้องการให้ได้เวลา 45 นาทีก็ต้องวิ่งรอบละ 108 วินาที หรือพูดให้กว้างขึ้นว่าทุกๆ 12 วินาทีต่อรอบจะทำให้เวลาเปลี่ยนไป 5 นาทีสำหรับการวิ่งมินิมาราธอน
ในการวิ่งเท็มโป้นั้น หากเราเลื่อนมาวิ่งลู่ 2 ก็จะพบว่าใช้เวลาวิ่งรอบละเท่าเดิมไม่ไหวแล้ว มันจะอึดอัดเพราะเกินจุดเท็มโป้ ซึ่งในทางปฏิบัติก็พบว่าเป็นเรื่องปกติที่เรามักมีความจำเป็นต้องไปใช้ลู่วิ่งอื่น เช่นมีผู้มาวิ่งแบบเร็วมาก (ซึ่งโดยประเพณีที่ดีของโลกเราให้ไปกองรวมกันอยู่ที่ลู่ 1 และ 2 เพื่อแยกผู้คนที่มีความเร็วต่างๆออกจากกันเพื่อความปลอดภัยและสะดวก อีกทั้งลู่ 1 มันมีระยะรอบละ 400 เมตรพอดี ทำให้คำนวณระยะรวมง่าย เหมาะกับผู้ที่ต้องการซ้อมอย่างจริงจัง)
ปัจจุบันมีนาฬิกาติดตั้งอุปกรณ์ GPS ที่ช่วยนักวิ่งได้เป็นอย่างดี มันจะคำนวณระยะทางและความเร็วให้ตลอด แต่ก็เป็นไปตามกลไกตลาดว่าของแบบนี้ย่อมมีราคาแพง เราจึงจะใช้นาฬิกาจับเวลาต่อรอบแบบปกติผสมกับการคำนวณด้วยสูตรต่อไปนี้
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักลู่วิ่งมาตรฐานกันก่อน ลำดับแรกก็ต้องรู้ข้อตกลงว่าเส้นแนววิ่งนั้นหมายถึงเส้นที่อยู่ได้ตัวเรา หรือจะให้แม่นยำขึ้นก็คือเส้นสมมุติที่เราวิ่งคร่อมหรือเหยียบนั่นเอง ส่วนขนาดของส่วนต่างๆเป็นดังนี้
1. ระยะ 400 ม. ที่ลู่ 1 คือแนวห่างขอบเส้นขาวใน 30 ซม. จุดเริ่มต้นสำหรับระยะ 400 ม. สำหรับลู่อื่นใช้แนวห่างมา 20 ซม. (เน้นอีกทีว่าไม่ใช่วัดถึงนิ้วก้อยเท้าซ้าย)
2. ความกว้างลู่คือ 122 ซม. เส้นกว้าง 5 ซม. ระหว่างเส้น 117 ซม.
3. ถ้าคิดว่าวิ่งห่างเส้น 20 ซม. ลู่ 2 ระยะ 407.04 ม. และเพิ่มลู่ละ 7.66 ม. ทำให้ลู่ 8 เป็น 453.03 ม.