'นายช่างใหญ่' และ 'บรมครู' ของชาวไทย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525 นิยามคำว่า ‘ช่าง’ หมายถึง ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะ
หรือผู้ประกอบกิจการด้านบูรณะ ตกแต่ง และสร้างสรรค์
หนังสืออภิธานศัพท์โดยนายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley หรือ หมอบรัดเลย์)
ที่ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงช่างเขียนว่า ‘คนเป็นช่างนั้น คิดเขียนแปลกวิเศษต่างๆ
เขาว่าช่างประดิษฐ์’ และอธิบายความหมายของช่างประดิษฐ์ว่า ‘คนที่รู้ทำการวิเศษต่างๆ
และรู้จักแต่งตั้งของวิเศษทั้งปวง’
สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประทานทรรศนะเกี่ยวกับช่างที่ดีไว้ว่า “จะต้องประกอบด้วยองค์คุณสองประการ
คือต้องประกอบด้วยฝีมืออย่างดีอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยความคิดดี
รู้ที่ควรมิควรอย่างหนึ่ง ประการหลังนี่ล่ะสำคัญมาก ถ้ามีแต่ฝีมือดี
ก็เป็นได้แค่ลูกมือเสมอไป
ต้องมีความคิดดีด้วยจึงจะเลื่อนขั้นเป็นนายช่างได้...ที่ตรงฝีมือนั้นไม่ประหลาดอะไร
เป็นของทำได้ง่ายๆ ที่ประหลาดนั้นอยู่ที่ความคิด คิดดีจริงๆนั้นแหละ แสดงว่า
...เป็นนายช่าง” (ดำรงราชานุภาพ, 2504)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงเป็น ‘นายช่างใหญ่’ ก็ทรงมีพระราชดำรัสที่สอดคล้องกับทรรศนะดังกล่าว
ในเรื่องกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะและงานช่างว่า “ความเป็นศิลปิน หมายถึง
ความสามารถตามธรรมชาติ ที่จะเห็นความงามและคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้ว
ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือเทคนิค เช่น วิชาช่าง เป็นต้น
จึงจะแสดงออกมาเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม หรือศิลปกรรม ในลักษณะอื่นๆ ได้” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเยี่ยมในทางช่าง ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างโลหะ หรือช่างกล
ซึ่งเป็นงานพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ทรงเล่าว่า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์
ขณะที่ประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น
ทรงมีห้องปฏิบัติการช่างหรือเวิร์กช็อปอยู่ในพระตำหนักวิลลาวัฒนา นครโลซานน์ ทรงมีพระสหายสนิทเชื้อสายกรีก
และเป็นพระอาจารย์ทางด้านช่างฝีมือซึ่งทรงโปรดปรานทำงานร่วมกัน
ความสนพระทัยในการประดิษฐ์คิดค้น แระพระปรีชาสามารถในเชิงช่างของพระองค์
มีมาตั้งแต่ทรงครั้งพระเยาว์
ทั้งนี้มาจากการอบรมเลี้ยงดูของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงสอนให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์รู้จัก
การดำรงพระองค์อย่างประหยัดมัธยัสถ์ และรู้คุณค่าของทรัพยากร
ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทหิดล พระบรมเชษฐาธิราช
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงสนพระทัยในการแข่งประดิษฐ์เนื่องจากพระราชชนนีไม่ได้พระราชทานของเล่นให้มากมายเหมือนอย่างเด็กๆ
สมัยนี้
เครื่องรับวิทยุที่ทั้งสองพระองค์ร่วมกันประกอบเมื่อครั้งยังทรงศึกษาในต่างประเทศ
เป็นเรื่องราวที่สะท้อนถึงความสนพระราชหฤทัยในการนี้ “ท่านอยากได้วิทยุมาฟัง ท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุง
ซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาประกอบกันเป็นวิทยุ
ซึ่งต้องฟังกันสองคนที่เข้าหุ้นกัน” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานสัมภาษณ์ในรายการ ‘พูดจาประสาช่าง’ ซึ่งตีพิมพ์ในวิศวกรรมสาร ‘ในหลวงกับงานช่าง’ (ปีที่ 39 เล่มที่ 5 ปี พ.ศ. 2530)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
และเทคโนโลยี โดยทรงเข้าศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์
เมื่อช่วงต้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษา
แต่ต้องทรงเปลี่ยนแนวการการศึกษามาเป็นรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์รับพระราชภารกิจ
ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
โดยเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิล
ตลอดเวลาที่ทรงครองราชย์
ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรทุกภาคอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้ทรงรับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้
และไม่ทรงละเลยปล่อยผ่านไปโดยไม่แก้ไข
แนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานให้กับหน่วยงานต่างๆ
เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและประเทศมีมาอย่างต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น