ข้อสอบที่ดีๆ ใครก็เขียนได้
“การเขียนแบบคู่กับอาชีพวิศวกรฉันใด
การเขียนข้อสอบย่อมคู่กับอาชีพครูฉันนั้น” หน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของวิศวกรก็คือการเขียนแบบหรือการออกแบบตึกรามบ้านช่องต่างๆ
ในทำนองเดียวกันหน้าที่ที่สำคัญของอาชีพครูก็คือการเขียนข้อสอบ
การเขียนแบบที่ดีต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำ
ส่วนการเขียนข้อสอบที่ดีนั้นก็ต้องอาศัยหลักการและเทคนิคการเขียนที่ดีเช่นกัน
เราไปดูหลักการเขียนข้อสอบที่ดีกันเถอะ!!!
หลักการเขียนข้อสอบหลายตัวเลือกหรือข้อสอบที่ทุกคนเรียกติดปากว่า “ข้อสอบช้อยส์” แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ การเขียนข้อคำถามและการเขียนตัวเลือก
สำหรับบทความนี้จะขอกล่าวถึงหลักการเขียนข้อคำถาม ดังนี้
หลักการเขียนข้อคำถาม
(stem)
1.
เขียนคำถามให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้
2.
คำถามอาจจะเป็นประโยคสมบูรณ์หรือไม่ก็ได้แต่ต้องเป็นประโยคที่มีใจความหรือความหมายในตัวประโยคเอง
แต่ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์จะทำให้ผู้สอบเข้าใจคำถามง่ายกว่า
3.
เขียนคำถามที่มีความเป็นปรนัย
4.
เขียนคำถามให้ชัดเจนกระชับ
ได้ใจความและเรื่องที่ถามนั้นควรเป็นเรื่องที่สำคัญเพียงเรื่องเดียว เช่น
5.
เขียนคำถามให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า หากต้องเขียนคำถามในรูปปฏิเสธ
ควรเน้นหรือขีดเส้นใต้คำที่แสดงความปฏิเสธให้ชัดเจน
6.
หลีกเลี่ยงคำถามปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
7.
ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับวัยของผู้สอบ
8.
สำหรับข้อคำถามที่ให้เลือกข้อที่ถูกต้องที่สุด (best –answer items) ควรใช้คำที่แสดงให้เห็นว่าต้องการคำตอบที่ถูกที่สุด
9. เขียนคำถามที่เป็นอิสระจากกัน
โดยระวังการเขียนข้อสอบที่เชื่อมโยงหรือชี้นำคำตอบของข้อคำถามอื่น ๆ ในแบบสอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น