ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21
ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21
เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21
ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง
ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่
21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด
คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning
Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่
21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น
ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21)
ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ
แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑
ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content
หรือ
subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์
โดยครูช่วยแนะนำ
และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก
(Core Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ
(Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น