ข้อคิดของเซอร์เคน โรบินสันกับการปฏิรรูปการศึกษา
เซอร์เคน โรบินสัน
นักการศึกษาชาวอังกฤษได้ปาฐกถาในรายการ TED เกี่ยวกับการให้การศึกษากับเด็กและเยาวชนและได้รับการเผยแพร่ใน
youtube มีผู้ชมรวมกันกว่า 7
ล้านครั้ง เรื่องสำคัญที่ท่านเซอร์พูดตอนหนึ่งชื่อว่า “How to escape
education's death valley” หรือวิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา
โดยเปรียบเทียบว่าการศึกษาปัจจุบันเป็นเหมือนกับพื้นที่รกร้างไม่มีต้นไม้ใดๆ
สามารถเจริญงอกงามได้ในมณฑลที่เรียกว่า หุบเขามรณะ (death valley) อย่างไรก็ดี
ในปีที่พิเศษที่มีอากาศเหมาะสม มีฝนตกเพียงพอ ต้นไม้ใบหญ้าก็กลับมาเจริญงอกงามได้
ท่านเซอร์จึงได้ให้แนวทางที่จะหลุดพ้นจากหุบเขามรณะของการศึกษาไว้ดังนี้
ในบทปาฐกถาเรื่อง
“วิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา” ท่านเซอร์ เคน โรบินสัน
ได้พูดถึงการให้การศึกษา (education) กับเยาวชนซึ่งประกอบด้วย การสอน (teaching)
และการเรียนรู้ (learning) ท่านเซอร์กล่าวว่า
"การให้การศึกษาเท่ากับการทำให้เกิดการเรียนรู้"
โดยหน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เพียงผู้ส่งสารที่ส่งความรู้จากหัวครูไปยังหัวสมองเด็กเท่านั้น
เนื่องจากเด็กเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสัญชาตญาณในการเรียนรู้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นหน้าที่ของครูจึงต้อง
เอื้อ (facilitate) ให้เกิดการเรียนรู้ กระตุ้น (provoke
and stimulate) ให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้พวกเด็กๆ
สนุกกับการเรียนรู้ เรียกว่าจุดประกายไฟในความกระหายที่จะเรียนรู้ให้ลุกโชนให้ได้
เมื่อไฟนี้ลุกโชนแล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ได้เองและอย่างต่อเนื่องด้วย
นอกจากนี้ครูยังต้องมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กมีจินตนาการ (imagination) มีความเป็นผู้นำ
(leadership) มีความคิดสร้างสรรค์ (creativity) พร้อมที่จะสร้างนวัตกรรม
(innovate) ใหม่ๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้นได้
ครูจึงต้องเป็นมากกว่าครู คือต้องเป็นทั้งโค้ชและพี่เลี้ยง (mentor) ไปด้วยในตัวเพื่อบ่มเพาะ
(nurture) และสร้างเป้าหมายในชีวิตให้กับเด็กและเยาวชน
จะเห็นว่าการให้การศึกษานั้น ครูมีบทบาทสำคัญมาก ท่านเซอร์บอกว่า (ผู้บริหาร) ต้องหาวิธีคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครูให้มาสอนหนังสือเด็ก อย่าคิดว่าการจ้างครูดีๆ เป็นค่าใช้จ่าย แต่ให้คิดว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต รัฐบาลต้องเข้ามาอุดหนุนให้เกิดการจ้างครูที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ (ผู้บริหาร) ต้องไม่ดึงครูไปทำงานอื่นๆ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นในห้องเรียน ครูจึงควรใช้เวลากับนักเรียนให้มากที่สุด และโรงเรียนไม่ใช่โรงงาน ไม่มีเด็กสองคนไหนที่เหมือนกันเป๊ะๆ แม้จะเป็นพี่น้องกันหรือฝาแฝดกัน ดังนั้น (ผู้บริหาร) ไม่ควรมองการศึกษาเหมือนการผลิตปลากระป๋องซึ่งสั่งได้ ควบคุมได้ แต่ควรให้หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและหลากหลายเพียงพอที่เด็กจะสามารถค้นพบตัวเองได้ เด็กเล็กควรได้เรียนศิลปะ ได้ออกกำลังกาย ได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ด้วย ข้อแนะนำสำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาคือควรหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนรู้มากกว่าที่จะวางแผนให้เด็กหรือครูก้าวเดินตามแผนที่วางไว้แบบก้าวต่อก้าว การสอบควรใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ไม่ใช่สรณะ ไม่ใช่เครื่องจำกัดโอกาสของเด็กครับ
จะเห็นว่าการให้การศึกษานั้น ครูมีบทบาทสำคัญมาก ท่านเซอร์บอกว่า (ผู้บริหาร) ต้องหาวิธีคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครูให้มาสอนหนังสือเด็ก อย่าคิดว่าการจ้างครูดีๆ เป็นค่าใช้จ่าย แต่ให้คิดว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต รัฐบาลต้องเข้ามาอุดหนุนให้เกิดการจ้างครูที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ (ผู้บริหาร) ต้องไม่ดึงครูไปทำงานอื่นๆ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นในห้องเรียน ครูจึงควรใช้เวลากับนักเรียนให้มากที่สุด และโรงเรียนไม่ใช่โรงงาน ไม่มีเด็กสองคนไหนที่เหมือนกันเป๊ะๆ แม้จะเป็นพี่น้องกันหรือฝาแฝดกัน ดังนั้น (ผู้บริหาร) ไม่ควรมองการศึกษาเหมือนการผลิตปลากระป๋องซึ่งสั่งได้ ควบคุมได้ แต่ควรให้หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและหลากหลายเพียงพอที่เด็กจะสามารถค้นพบตัวเองได้ เด็กเล็กควรได้เรียนศิลปะ ได้ออกกำลังกาย ได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ด้วย ข้อแนะนำสำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาคือควรหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนรู้มากกว่าที่จะวางแผนให้เด็กหรือครูก้าวเดินตามแผนที่วางไว้แบบก้าวต่อก้าว การสอบควรใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ไม่ใช่สรณะ ไม่ใช่เครื่องจำกัดโอกาสของเด็กครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น