uasawin

uasawin

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

ข้อคิดของเซอร์เคน โรบินสันกับการปฏิรรูปการศึกษา
        เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาชาวอังกฤษได้ปาฐกถาในรายการ TED เกี่ยวกับการให้การศึกษากับเด็กและเยาวชนและได้รับการเผยแพร่ใน youtube มีผู้ชมรวมกันกว่า 7 ล้านครั้ง เรื่องสำคัญที่ท่านเซอร์พูดตอนหนึ่งชื่อว่า “How to escape education's death valley” หรือวิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา โดยเปรียบเทียบว่าการศึกษาปัจจุบันเป็นเหมือนกับพื้นที่รกร้างไม่มีต้นไม้ใดๆ สามารถเจริญงอกงามได้ในมณฑลที่เรียกว่า หุบเขามรณะ (death valley) อย่างไรก็ดี ในปีที่พิเศษที่มีอากาศเหมาะสม มีฝนตกเพียงพอ ต้นไม้ใบหญ้าก็กลับมาเจริญงอกงามได้ ท่านเซอร์จึงได้ให้แนวทางที่จะหลุดพ้นจากหุบเขามรณะของการศึกษาไว้ดังนี้
       ในบทปาฐกถาเรื่อง “วิธีออกจากหุบเขามรณะของการศึกษา” ท่านเซอร์ เคน โรบินสัน ได้พูดถึงการให้การศึกษา (education) กับเยาวชนซึ่งประกอบด้วย การสอน (teaching) และการเรียนรู้ (learning) ท่านเซอร์กล่าวว่า "การให้การศึกษาเท่ากับการทำให้เกิดการเรียนรู้" โดยหน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เพียงผู้ส่งสารที่ส่งความรู้จากหัวครูไปยังหัวสมองเด็กเท่านั้น เนื่องจากเด็กเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสัญชาตญาณในการเรียนรู้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นหน้าที่ของครูจึงต้อง เอื้อ (facilitate) ให้เกิดการเรียนรู้ กระตุ้น (provoke and stimulate) ให้เกิดการเรียนรู้ และทำให้พวกเด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้ เรียกว่าจุดประกายไฟในความกระหายที่จะเรียนรู้ให้ลุกโชนให้ได้ เมื่อไฟนี้ลุกโชนแล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ได้เองและอย่างต่อเนื่องด้วย นอกจากนี้ครูยังต้องมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กมีจินตนาการ (imagination) มีความเป็นผู้นำ (leadership) มีความคิดสร้างสรรค์ (creativity) พร้อมที่จะสร้างนวัตกรรม (innovate) ใหม่ๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้นได้ ครูจึงต้องเป็นมากกว่าครู คือต้องเป็นทั้งโค้ชและพี่เลี้ยง (mentor) ไปด้วยในตัวเพื่อบ่มเพาะ (nurture) และสร้างเป้าหมายในชีวิตให้กับเด็กและเยาวชน
       จะเห็นว่าการให้การศึกษานั้น ครูมีบทบาทสำคัญมาก ท่านเซอร์บอกว่า (ผู้บริหาร) ต้องหาวิธีคัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครูให้มาสอนหนังสือเด็ก อย่าคิดว่าการจ้างครูดีๆ เป็นค่าใช้จ่าย แต่ให้คิดว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต รัฐบาลต้องเข้ามาอุดหนุนให้เกิดการจ้างครูที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ (ผู้บริหาร) ต้องไม่ดึงครูไปทำงานอื่นๆ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นในห้องเรียน ครูจึงควรใช้เวลากับนักเรียนให้มากที่สุด และโรงเรียนไม่ใช่โรงงาน ไม่มีเด็กสองคนไหนที่เหมือนกันเป๊ะๆ แม้จะเป็นพี่น้องกันหรือฝาแฝดกัน ดังนั้น (ผู้บริหาร) ไม่ควรมองการศึกษาเหมือนการผลิตปลากระป๋องซึ่งสั่งได้ ควบคุมได้ แต่ควรให้หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและหลากหลายเพียงพอที่เด็กจะสามารถค้นพบตัวเองได้ เด็กเล็กควรได้เรียนศิลปะ ได้ออกกำลังกาย ได้เรียนวิชาที่เกี่ยวกับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ด้วย ข้อแนะนำสำหรับโรงเรียนและสถานศึกษาคือควรหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนรู้มากกว่าที่จะวางแผนให้เด็กหรือครูก้าวเดินตามแผนที่วางไว้แบบก้าวต่อก้าว การสอบควรใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยระดับการเรียนรู้ของเด็กแต่ไม่ใช่สรณะ ไม่ใช่เครื่องจำกัดโอกาสของเด็กครับ

ตรียมความพร้อมกับ 8 อาชีพ AEC 
9-7-2555 16-18-14
AEC หรือ Asean Economics Communityคือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน ก่อตั้งในปี 1967 (2510)โดยมี 5 ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งคือ ไทย /มาเลเซีย/อินโดนีเซีย/ฟิลิปปินส์/สิงคโปร์ 1984(2527): บรูไน เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเป็นประเทศที่ 6,1995(2538) เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิก 1997(2540) ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิก,1999(2542) กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกAEC2015เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง
AEC2015

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้นส่งผลกระทบกับประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศอันได้แก่ บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, พม่า สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีระหว่างกันในประชาคมอาเซียน (Mobility of professions in ASEAN community) โดยวิชาชีพที่มีการตกลงให้เคลื่อนย้ายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกได้นั้น มี  8 วิชาชีพดังนี้ 1. สาขาวิศวกรรม 2. สาขานักสำรวจ 3. สาขาสถาปัตยกรรม 4. สาขาแพทย์ 5. สาขาทันตแพทย์ 6. สาขาพยาบาล 7. สาขานักบัญชี 8. สาขาวิชาชีพด้านการท่องเที่ยว

http://www.vcharkarn.com/varticle/56412
สู่สากลบนรากฐานความเป็นไทย ก้าวไกลด้วยรากเหง้า
1
              ก่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมา ศ. นพ. ประเวศ วะสี ได้กล่าวถึง การปฏิรูปการศึกษาไทย : หนทางสู่การปฏิบัติไว้ในงานประชุมประจำปีของมูลนิธิสด-สฤษดิ์วงศ์ เมื่อพ.ศ. 2539 เอาไว้ตอนหนึ่งว่า การศึกษาควรเป็นไปเพื่อการแก้ปัญหาของสังคม ดังนั้นแนวคิดในการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจาก การศึกษาท่องหนังสือมาเป็นการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ที่สามารถแก้ปัญหาทั้งมวล ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากเอกสารแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย : ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ร่วมกันจัดทำขึ้นในอีก 15 ปีต่อมาว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ที่คนในสังคมต้องลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของและเป็นผู้ขับเคลื่อนด้วยพลังทางสังคมและด้วยพลังปัญญาทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้พ้นจากภาวะวิกฤติที่สุด ไปสู่เส้นทางแห่งความเจริญที่แท้จริง
โฮมสคูลทางเลือกใหม่ในสังคมไทย
533_3
นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ.   2542   ประกาศใช้   การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเป็นสิทธิโดยถูกต้องตามมาตรา   12   ที่ให้ครอบครัวจัดการศึกษา   ขั้นพื้นฐานได้   เป็นทางเลือกของครอบครัว   ที่ประสงค์จะจัดการศึกษาให้กับบุตรเอง   หากไม่ประสงค์จะส่งลูกเข้าโรงเรียน   โดยสภาพความเป็นจริงการจัดการโดยครอบครัว   ได้มีการดำเนินงานมาบ้างแล้วก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ
หลังจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   ประกาศใช้   การดำเนินงานในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาองค์ความรู้จากต่างประเทศ   เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับประเทศไทย   พร้อมทั้งได้มีครอบครัวที่ตัดสินใจดำเนินการจัดการศึกษาให้ลูก   ตามสิทธิที่ครอบครัวได้รับโดยถูกต้องตามกฎหมาย   ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ   มาตรา   12   สิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวนี้   จะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง   กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน   โดยครอบครัวอยู่ระหว่างดำเนินการ   โดยกระทรวงศึกษาธิการ
Home School หรือ การศึกษาโดยครอบครัว คือ การจัดการศึกษาที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองได้จัดขึ้นเพื่อลูก ๆ ของเขาเอง โดยมีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบ ของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างมีการเทียบโอนผลการศึกษาได้
โฮมสคูลการศึกษาระบบใหม่ เด็กเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาพ่อแม่เพียงแค่มีประสบการณ์ชีวิตเป็นพอ พ่อแม่วางใจได้ โฮมสคูลไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย และมีเด็กที่เรียนในระบบนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก เพื่อให้รู้จักการจัดการศึกษาแบบ Home school และเข้าใจแนวการจัดการศึกษาแบบนี้


ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
       ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
    ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
    ศิลปะ
    คณิตศาสตร์
    การปกครองและหน้าที่พลเมือง
    เศรษฐศาสตร์
    วิทยาศาสตร์
    ภูมิศาสตร์
    ประวัติศาสตร์

       โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก
9 วิธีขับรถ ลดโลกร้อน
images (7)
คุณเคยทราบหรือไม่ว่า? การเดินทางในแต่ละครั้งต้อง ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการขับเคลื่อนจำนวนมหาศาลแต่ปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้กลับเริ่มลดลง เพราะต้องจัดหาให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความเป็นอยู่ของเราทุกวันนี้ ดังนั้นเพื่อช่วยโลกให้กลับมาสดใสอีกครั้ง เราสามารถ จัดการให้การเดินทางในแต่ละครั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
                1.  ใช้เชื้อเพลิงสะอาด เช่น ไบโอดีเซล
                2.  นัดเพื่อนร่วมงานที่อยู่ใกล้กัน นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกันเพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน ลดจำนวนรถบนท้องถนน ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และยังได้มีโอกาสสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันอีกด้วย
                3.  การขับรถที่ยางลมมีน้อยอาจจะทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึงร้อยละ 3 จากภาวะปกติ ดังนั้นควรเช็คลมยางก่อนออกจากบ้าน
                4.  ควรขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อลดการใช้น้ำมันลงได้ถึงร้อยละ 20 หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ใช้งานราว 3 หมื่นกิโลเมตรต่อปี
                5.  ควรดับเครื่องยนต์เมื่อต้องจอดรถเป็นเวลานาน
                6.  เมื่อจะตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ควรดูจากจำนวนสมาชิกในครอบครัว และเลือกซื้อรุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
                7.  ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เพราะความเสื่อมสภาพจะลดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์
                8.  หากต้องการเช่ารถเพื่อท่องเที่ยวควรเลือกใช้บริการจากบริษัทที่มีรถรุ่นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์

                9.  ลองเปิดโอกาสให้กับตัวเองได้ทำอะไรใหม่ๆ เช่น ปั่นจักรยาน นั่งรถโดยสาร หรือเดินหากต้องเดินทางในระยะทางที่ใกล้เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน

'นายช่างใหญ่' และ 'บรมครู' ของชาวไทย
67_1_89667_ในหลวง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525 นิยามคำว่า ช่างหมายถึง ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะ หรือผู้ประกอบกิจการด้านบูรณะ ตกแต่ง และสร้างสรรค์ หนังสืออภิธานศัพท์โดยนายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley หรือ หมอบรัดเลย์) ที่ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงช่างเขียนว่า คนเป็นช่างนั้น คิดเขียนแปลกวิเศษต่างๆ เขาว่าช่างประดิษฐ์และอธิบายความหมายของช่างประดิษฐ์ว่า คนที่รู้ทำการวิเศษต่างๆ และรู้จักแต่งตั้งของวิเศษทั้งปวง
                    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประทานทรรศนะเกี่ยวกับช่างที่ดีไว้ว่า จะต้องประกอบด้วยองค์คุณสองประการ คือต้องประกอบด้วยฝีมืออย่างดีอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยความคิดดี รู้ที่ควรมิควรอย่างหนึ่ง ประการหลังนี่ล่ะสำคัญมาก ถ้ามีแต่ฝีมือดี ก็เป็นได้แค่ลูกมือเสมอไป ต้องมีความคิดดีด้วยจึงจะเลื่อนขั้นเป็นนายช่างได้...ที่ตรงฝีมือนั้นไม่ประหลาดอะไร เป็นของทำได้ง่ายๆ ที่ประหลาดนั้นอยู่ที่ความคิด คิดดีจริงๆนั้นแหละ แสดงว่า ...เป็นนายช่าง” (ดำรงราชานุภาพ,  2504)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผู้ทรงเป็น นายช่างใหญ่ก็ทรงมีพระราชดำรัสที่สอดคล้องกับทรรศนะดังกล่าว ในเรื่องกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะและงานช่างว่า ความเป็นศิลปิน หมายถึง ความสามารถตามธรรมชาติ ที่จะเห็นความงามและคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้ว ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือเทคนิค เช่น วิชาช่าง เป็นต้น จึงจะแสดงออกมาเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม หรือศิลปกรรม ในลักษณะอื่นๆ ได้” (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507)
                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเยี่ยมในทางช่าง ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างโลหะ หรือช่างกล ซึ่งเป็นงานพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ทรงเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ ขณะที่ประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น ทรงมีห้องปฏิบัติการช่างหรือเวิร์กช็อปอยู่ในพระตำหนักวิลลาวัฒนา นครโลซานน์ ทรงมีพระสหายสนิทเชื้อสายกรีก และเป็นพระอาจารย์ทางด้านช่างฝีมือซึ่งทรงโปรดปรานทำงานร่วมกัน ความสนพระทัยในการประดิษฐ์คิดค้น แระพระปรีชาสามารถในเชิงช่างของพระองค์ มีมาตั้งแต่ทรงครั้งพระเยาว์ ทั้งนี้มาจากการอบรมเลี้ยงดูของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงสอนให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทุกพระองค์รู้จัก การดำรงพระองค์อย่างประหยัดมัธยัสถ์ และรู้คุณค่าของทรัพยากร ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทหิดล พระบรมเชษฐาธิราช และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยในการแข่งประดิษฐ์เนื่องจากพระราชชนนีไม่ได้พระราชทานของเล่นให้มากมายเหมือนอย่างเด็กๆ สมัยนี้
                    เครื่องรับวิทยุที่ทั้งสองพระองค์ร่วมกันประกอบเมื่อครั้งยังทรงศึกษาในต่างประเทศ เป็นเรื่องราวที่สะท้อนถึงความสนพระราชหฤทัยในการนี้ ท่านอยากได้วิทยุมาฟัง ท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุง ซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาประกอบกันเป็นวิทยุ ซึ่งต้องฟังกันสองคนที่เข้าหุ้นกันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์ในรายการ พูดจาประสาช่างซึ่งตีพิมพ์ในวิศวกรรมสาร ในหลวงกับงานช่าง’ (ปีที่ 39 เล่มที่ 5 ปี พ.ศ. 2530)
                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยี โดยทรงเข้าศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อช่วงต้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ต้องทรงเปลี่ยนแนวการการศึกษามาเป็นรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์รับพระราชภารกิจ ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย โดยเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิล
                    ตลอดเวลาที่ทรงครองราชย์ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรทุกภาคอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทรงรับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ และไม่ทรงละเลยปล่อยผ่านไปโดยไม่แก้ไข แนวพระราชดำริที่ทรงพระราชทานให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและประเทศมีมาอย่างต่อเนื่อง